ขับเคลื่อนโดย Blogger.
RSS

ผลงานเด่น


โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขาว

การเขียนโครงการนวัตกรรมการดูแลสุขภาพที่บ้าน
บทที่1

บทนำ

ที่มาและความสำคัญ

ในปัจจุบันโรคที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุมีหลายประเภทเช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคต้อกระจก และโรคอัลไซเมอร์เป็นต้น ผู้สูงอายุจำนวนมากจะอาศัยอยู่ในบ้านโดยไม่มีผู้ดูแลหรือการหยิบใช้ยาไม่ถูกต้อง ซึ่งมีปัญหาในการรับประทานยา เช่น การอ่านฉลากยาไม่ชัดเจน รับประทานยาไม่ตรงเวลาเป็นต้น เพื่อลดปัญหาการรับประทานยาของผู้สูงอายุและเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรค จึงได้มีการคิดค้นนวัตกรรมเสนอกระป๋องน้อยคอยเตือนสำหรับผู้สูงอายุ โดยมีการให้ผู้ดูแลจัดเตรียมยาตามข้อมูลการรับประทานยาตามแพทย์สั่งในแต่ละวันจัดเตรียมลงกระป๋องน้อยตามช่องของช่วงเวลาที่กำหนดไว้


วัตถุประสงค์ของการศึกษา


1. เพี่อประยุกต์วัสดุอุปกรณ์กระป๋องน้ำและกระดาษสีต่างๆใช้มารีไซเคิลมาใช้เป็นกล่องช่วยจัดบริหารยา

2. เพื่อลดปัญหาการใช้ยา เพิ่มประสิทธิในการรักษาโรคและเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยและผู้ดูแลที่ถูกต้องเหมาะสม


สมมติฐาน

กระป๋องน้อยคอยเตือนด้วยการให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้เบื้องต้นการจัดบริหารยา โดยอาศัยหลักการใช้ยาที่นิยมเป็นสากลคือ กฎ 5 R เพื่อใช้พิจารณาก่อนให้ยา เพื่อช่วยลดปัญหาการใช้ยาและเพิ่มประสิทธิในการรักษาโรค


ขอบเขตการศึกษา

ผู้ป่วยเรื้อรังที่ได้รับมอบหมาย

ประโยชน์และคุณค่าของผลงาน

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและประชาชนทั่วไปนำไปประยุกต์ใช้เองเนื่องจากเห็นว่ามีประโยชน์เห็นผลในเรื่องลดปัญหาการใช้ยา เพิ่มประสิทธิในการรักษาโรคและเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยและผู้ดูแลที่ถูกต้องเหมาะสม

บทที่2

ความรู้และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง


หลักการใช้ยาโรคเรื้อรังให้ได้ผลดีและปลอดภัย

เพื่อให้การใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้ผลดีและปลอดภัยซึ่งตัวผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยที่ทำหน้าที่รับยาและเป็นผู้ที่ให้ยาควรปฏิบัติมี4ขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

1.การตรวจรักษาจากแพทย์

การตรวจรักษาจากแพทย์ แพทย์จะทำการซักประวัติความเจ็บป่วยพร้อมกับการตรวจร่างกาย ซึ่งอาจมีการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม เช่น.เอกซเรย์ ตรวจเลือด เป็นต้น

2. การรับยาที่ห้องยา บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วยต้องตรวจเช็คยาทั้งหมด ดังนี้

ถูกคน: ตรวจชื่อผู้ป่วยบนฉลากยาว่าถูกต้องหรือไม่ เป็นของผู้ป่วยหรือไม่

ถูกชนิด: ตรวจชนิดของยา ชื่อยา ข้อบ่งใช้จานวนยาที่ได้รับ และคำนวณดูว่าจำนวนเพียงพอถึงการนัดพบแพทย์

ในครั้งต่อไปหรือไม่

ถูกวิธีใช้:อ่านและทาความเข้าใจวิธีการใช้ยาให้ชัดเจน ถ้ามียาใดที่ไม่เข้าใจหรือสงสัยวิธีใช้ยา จะต้องปรึกษาเภสัชกรผู้จ่ายยาจนเข้าใจดีก่อนกลับบ้าน

ยาใหม่ : กรณีที่พบยาใหม่ ถ้าได้รับยาใหม่โดยที่แพทย์ไม่เคยอธิบายให้ฟังจะต้องปรึกษาเภสัชกรทันที เพราะอาจผิดพลาดและเกิดอันตรายได้

ยาที่มีรูปแบบพิเศษ: ถ้าได้รับยามีรูปลักษณ์แปลกใหม่ ไม่คุ้นเคย จะต้องปรึกษาเภสัชกรผู้จ่ายยา เพื่อขอคำแนะนำวิธีการใช้ยาและฝึกฝนให้ถูกต้อง

ผลข้างเคียงของยา:จะต้องสอบถามถึงผลข้างเคียงของยาที่พบบ่อยและอันตราย จะได้สังเกตหลังการใช้ยา และติดตามอาการเหล่านี้

3. การใช้ยา

เมื่อกลับไปบ้านและจะเริ่มใช้ยา ต้องอ่านฉลากและวิธีใช้ทุกครั้ง ว่าใช้ครั้งละเท่าใด วันละกี่ครั้ง เวลาใด และใช้ให้ถูกต้อง ตรงตามคำสั่งแพทย์ หรือเภสัชกร และสังเกตลักษณะของยาว่ายังเหมือนเดิมหรือไม่ ก่อนการใช้ยา

4. หลักจากใช้ยา

หลักการให้ยา ที่นิยมกันเป็นสากล คือ กฎ5 R

- R1 Right Person ให้ถูกต้องกับคน

- R2 Right Drug ให้ถูกชนิดยา ซึ่งจะบ่งบอกถึงสรรพคุณยาในการรักษาโรคแต่ละโรคที่แตกต่างกัน

- R3 Right Dose ให้ถูกขนาดยา เช่น เป็นมิลลิกรัม,เม็ดแคปซูล หรือเป็นหยด

- R4 Right Route ให้ถูกทาง เช่น ทางปาก ทางผิวหนังหยอดตา หรือ เหน็บทวารหนัก

- R5 Right time ให้ถูกเวลา เช่น ก่อนอาหารเช้า หรือ หลังอาหาร หรือให้เมื่อมีอาการและให้วันละกี่ครั้ง เป็นต้น

ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาที่ควรรู้

- ดูวันหมดอายุของยา

- กินยาให้ถูกต้องตามฉลากยา

-กินยาให้หมดตามที่แพทย์ พยาบาลเภสัชกรแนะนา ถึงแม้จะรู้สึกว่าหายแล้ว

- เก็บยาให้ถูกวิธี

-ไม่กินยาหรือใช้ยาของใครถึงแม้มีอาการคล้ายกัน

- สังเกตอาการผิดปกติหลังกินยาเสมอ

- ทิ้งยาที่ไม่ใช้แล้ว หรือ ที่หมดอายุ

ปัญหาการใช้ยาโรคเรื้อรังในชุมชนที่พบบ่อย

1.ซื้อยามากินเอง

เมื่อตรวจพบโรค ต้องให้แพทย์รักษา

ยาหมดไม่มาพบแพทย์

ซื้อยากินเองโดยไม่ทราบขนาด และชื่อยาที่แน่ชัด

2. การปรับขนาดยากินเอง

วันนี้กินของหวานเยอะ ปรับเพิ่มยาเอง

พรุ่งนี้จะไปพบแพทย์ กินยาเบาหวานก่อนเจาะเลือด

รู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่นGlibenclamide 1x2 p Ο ac แต่กินตอนเย็นครั้งเดียว2 เม็ด

3. ยาหมดก่อนนัด

ผู้ป่วยกินยาผิดขนาด

แบ่งยาจากคนอื่นที่กินยาชนิดเดียวกันกิน

4. เห็นคนอื่นที่เป็นโรคเดียวกันมีอาการดีขึ้นจึงไปหาซื้อยาเหมือนเขามากิน

5. การใช้ยาผิดวิธี

ยาที่กินก่อนอาหาร ไปกินหลังอาหาร

ยาที่ห้ามเคี้ยวแต่ก็เคี้ยวยาเพราะว่ากินง่าย

การฉีดยา มองไม่เห็นทาให้ได้รับยาน้อย/มากเกินไป

ทฤษฏีการดูแลตนเองของโอเร็ม

จากการศึกษาคาร์ลและคอบบ์(kals and cobbs.1966,อ้างในสันติ ธรรมชาติ 2545:5) ได้ให้ความหมายพฤติกรรมสุขภาพว่า เป็นกิจกรรมใดๆที่บุคคลหนึ่งกระทำขึ้นเพื่อส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรงซึ่งการกระทำนี้อาจเป็นการป้องกันโรค หรือการค้นหาโรคในระยะที่ยังไม่เกิดอาการเด่นชัดด้วย ซึ่งมีความสอดคล้องกับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยการใช้กล่องน้อยคอยเตือนในการลดปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาและเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาโรคได้อย่างถูกต้องเหมาะสม


บทที่3

วิธีการสร้างและการทดลอง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง

นำมาปรับใช้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ได้รับมอบหมาย


วิธีการประดิษฐ์นวัตกรรม

-หลักการทำงานของผลงานประดิษฐ์คิดค้น

1.เตรียมอุปกรณ์กระป๋องน้ำเหลือใช้ ที่มีขนาดเท่ากัน 8 ชิ้น และเตรียมกระดาษสี แผ่นฟิวเจอร์บอร์ด ปากกาเมจิก เพื่อใช้ในการประดิษฐ์กระป๋องน้อยคอยเตือน

2.นำกระดาษสีมาตกแต่งแผ่นฟิวเจอร์บอร์ด เขียนระบุ วัน เวลา ช่วงเวลาการรับประทานยา ก่อนอาหาร หลังอาหาร และใช้กระดาษสีแทนสัญญาลักษณ์แสดง ช่วงเวลา เช้า เที่ยง เย็น ก่อนนอน เพื่อให้ผู้ดูแลและผู้สูงอายุเข้าใจได้ง่ายขึ้น

3.นำกระป๋องมาตกแต่งโดยการตัดแบ่งครึ่ง จำนวน 8 ชิ้น เพื่อให้แบ่งช่วงเวลาการรับประทานยา ก่อนอาหาร หลังอาหาร

4.เขียนระบุรายละเอียดข้อความบนกระป๋องน้อยคอยเตือน เพื่อให้ผู้ดูแลและผู้สูงอายุสามารถเข้าใจวิธีการใช้ในการจัดบริหารยา เพื่อลดปัญหาในการใช้ยาเช่นการลืมกินยา และเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรค

วิธีการทำงานของผลงานประดิษฐ์คิดค้น

1 .จัดทำกระป๋องน้อยคอยเตือนใส่ยา โดยใช้วัสดุอุปกรณ์เหลือใช้ในสำนักงานนำกลับมารีไซเคิล

2. แนะนำนวัตกรรมกระป๋องน้อยคอยเตือน แก่ผู้ดูแลและผู้สูงอายุในกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง พร้อมสาธิตวิธีการใช้จัดบริหารยาในแต่ละวัน

อธิบายหลักการให้ยา คือ กฎ 5 R

- R1 Right Person ให้ถูกต้องกับคน

- R2 Right Drug ให้ถูกชนิดยา ซึ่งจะบ่งบอกถึงสรรพคุณยาในการรักษาโรคแต่ละโรคที่แตกต่างกัน

- R3 Right Dose ให้ถูกขนาดยา เช่น เป็นมิลลิกรัม, เม็ดแคปซูล หรือเป็นหยด

- R4 Right Route ให้ถูกทาง เช่น ทางปาก ทางผิวหนังหยอดตา หรือ เหน็บทวารหนัก

- R5 Right time ให้ถูกเวลา เช่น ก่อนอาหารเช้า หรือ หลังอาหาร หรือให้เมื่อมีอาการและให้วันละกี่ครั้ง เป็นต้น


อธิบายข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาที่ควรรู้

- ดูวันหมดอายุของยา

- กินยาให้ถูกต้องตามฉลากยา

-กินยาให้หมดตามที่แพทย์ พยาบาลเภสัชกรแนะนา ถึงแม้จะรู้สึกว่าหายแล้ว

- เก็บยาให้ถูกวิธี

-ไม่กินยาหรือใช้ยาของใครถึงแม้มีอาการคล้ายกัน

- สังเกตอาการผิดปกติหลังกินยาเสมอ

- ทิ้งยาที่ไม่ใช้แล้ว หรือ ที่หมดอายุ

เพื่อให้การใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้ผลดีและปลอดภัย ลดปัญหาการใช้ยาและเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคต้องให้การดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องตลอดไป เพื่อควบคุมอาการของโรคไม่ให้ลุกลามจนเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือเป็นอันตรายรุนแรง

3. แจกนวัตกรรมฟรีให้กับผู้ป่วยเรื้อรังโดยมีเงื่อนไขว่าต้องนำมารับยาด้วยทุกครั้ง หากมียาเหลือที่บ้านก็ต้องนำยามาให้หมอดูด้วย

4. ร่วมนำเสนอแนวคิดและทำความเข้าใจกับทีมสหวิชาชีพในหน่วยบริการ รพ.สต.ในเขตที่รับผิดชอบ ให้เห็นถึงประโยชน์จากการใช้กระป๋องน้อยคอยเตือน เช่น พยาบาลวิชาชีพ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข นำไปปรับใช้ในการจัดบริหารยาในผู้ป่วยเรื้อรัง เพื่อให้เกิดประโยชน์ลดปัญหาในการใช้ยา

งบประมาณที่ใช้ในการประดิษฐ์คิดค้น

จะเห็นว่า เริ่มได้ที่งบประมาณตั้งแต่ 30 บาทเป็นต้นไป

การดำเนินการทดลอง

แนะนำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการเยี่ยมครั้งนี้จัดบริหารยาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2557 โดยมีผู้ดูแลจัดให้ทุกวัน



บทที่4

ผลการศึกษา


ผู้ป่วยรายนี้เป็นผู้สูงอายุผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เบาหวาน,ความดันโลหิตสูง จากการติดตามเยี่ยมบ้านได้ประเมินเกี่ยวกับปัญหาการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ความไม่ต่อเนื่องในการรักษา และภาวะแทรกซ้อนของโรค ซึ่งโรคเรื้อรังเป็นแล้วมักไม่หายขาด ต้องให้การดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องตลอดไป เพื่อควบคุมอาการของโรคไม่ให้ลุกลามจนเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเป็นอันตรายรุนแรง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังซึ่งตัวผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยที่ทำหน้าที่รับยาและเป็นผู้ที่ให้ยาควรมีแนวทางในการจัดบริหารการใช้ยาที่ถูกต้องและปลอดภัย เพื่อลดปัญหาการรับประทานยาของผู้สูงอายุการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด และเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค จึงได้มีการคิดค้นนวัตกรรมเสนอกระป๋องน้อยคอยเตือนสำหรับผู้สูงอายุผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยมีการให้ผู้ดูแลจัดเตรียมยาตามข้อมูลการรับประทานยาตามแพทย์สั่งในแต่ละวันจัดเตรียมลงกระป๋องน้อยตามช่องของช่วงเวลาที่กำหนดไว้ควบคู่กับการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเหมาะสมเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร การออกกำลังกาย และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค

ผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยบอกว่าหลังจากนำกระป๋องน้อยคอยเตือนมาใช้ในการจัดบริหารยา สามารถจัดบริหารยาได้ง่ายขึ้น ซึ่งสามารถจัดยาตามแพทย์สั่งโดยการจัดยาได้ถูกต้องปลอดภัย และจะพกยาไปด้วยทุกครั้ง หากมียาเหลือที่บ้านก็จะนำยาไปให้หมอดูเพื่อติดตามประเมินการใช้ยาของผู้ป่วย


บทที่5

สรุปผลการศึกษา


เพื่อให้การใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในกลุ่มผู้สูงอายุได้ผลดีและปลอดภัย ลดปัญหาการใช้ยาและเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคต้องให้การดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องตลอดไป เพื่อควบคุมอาการของโรคไม่ให้ลุกลามจนเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือเป็นอันตรายรุนแรง การนำ กระป๋องน้อยคอยเตือน สำหรับผู้สูงอายุผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยมีการให้ผู้ดูแลจัดเตรียมยาตามข้อมูลการรับประทานยาตามแพทย์สั่งในแต่ละวันจัดเตรียมลงกระป๋องน้อยตามช่องของช่วงเวลาที่กำหนดไว้ควบคู่กับการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเหมาะสมเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร การออกกำลังกาย และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค

อภิปรายผลการศึกษา

ในรพ.สต.ซึ่งเป็น แหล่งบริการสาธารณสุข ใกล้บ้าน ใกล้ใจ มีโอกาสที่จะดูแลผู้ป่วยเรื้อรังเหล่านี้ได้อย่างเข้าถึง ใกล้ชิด ครอบคลุม แบบองค์รวมสามารถดูแลและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเหล่านี้ได้จากนวัตกรรมที่ประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ภายในสำนักงานและครัวเรือนมาประยุกต์เข้ากับการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ข้อเสนอแนะในการพัฒนานวัตกรรมครั้งต่อไป

การจัดทำกระป๋องใส่ยาสำหรับการจัดบริหารยา ให้มีความกะทัดรัดสามารถจัดเก็บได้สะดวก และสามารถจัดยาจากใน 1 วัน เป็น 1 สัปดาห์ เพื่อความสะดวกของผู้ดูแลในช่วงเวลาที่ผู้ดูแลไม่ว่างหรือต้องเดินทางไกล และต้องปลอดภัยต่อผู้สูงอายุ

บรรณานุกรม


หลักการใช้ยาโรคเรื้อรังในชุมชน เภสัชกรทินกร อาชาสันติสุข กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

ปัญหาการใช้ยาในผู้สูงอายุ ผศ.พญ.ปณิตา ลิมปะวัฒนะ สาขาวิชาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ภาควิชาอายุรศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สุดา วรรณประสาท.ปัญหาการใช้ยาในผู้สูงอายุ. อายุรศาสตร์อีสาน2551









  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS
Read User's Comments0

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น